วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


วัฒนธรรมภาคใต้


ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์ 

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

      สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (วัดบ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กา โผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอ หนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะ นะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม ค่ำ เดือน 11 ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมาย ปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชม ตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำ เภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา วัน คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาว ไทยพุทธ ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชายตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามู สู่ บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่ กิ่งไพศาล ริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือ พระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้ว มีการแข่งขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประ เพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่ง ต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือ เพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้ รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ"ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็น จตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก     ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม บน เรือที่มีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า "เรือประทาน หรือเรือ พนมพระ" ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก เรือพนมพระนิยม ทำเป็นตัวนาค และบนเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มืด โดยมีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้า บ้านที่สลากระบุ หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการ เคารพนับถือจะทำพิธีชักพระ ด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ จาก นั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง พร้อมกับการตีกลองประโคม เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตรเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประ ดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์ เพื่อทำการสมโภชในวันรุ่งขึ้น วันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่ วัด หลังเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ "การแข่งเรือยาว" ประเพณีชักพระที่มีชื่อ เสียง คือ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีแม่น้ำตาปีให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่อดีตเมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม ค่ำ เดือน 11 จะอาราธนาพระพุทธรูป ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้ง หมดขึ้นนั่งประจำเรือ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตาม และ ประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่งฉาบ แล้ว ชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วย ต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำ ก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบก ก็จะใช้คนเดินลาก แล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไป ใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมในที่เดียว กันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสาม เณรได้ทั่วทุกวัด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย


เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่างๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัว สวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดีมี การแข่งขันตี โพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลงลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และ บางทีก็มีกิจกรรมแปลกๆ เช่น กีฬาซัดต้ม การประกวดเรือพระ สมัยก่อนมักให้รางวัล เป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กา น้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็น เงินสด 







วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


พิธีกินผัก (เจี๊ยฉ่าย)

          ชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปี  ถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดภูเก็ต     อนึ่ง  การใช้ประโยชน์จากพืชผักพื้นบ้านภาคใต้ในมิติวัฒนธรรมพบว่า  พืชผักจำนวน 103 ชนิด  ในจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น  มีจำนวน 47 ชนิดที่สามารถนำมาจำแนกตามคุณประโยชน์  ดังนี้1.พืชผักที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร  22 ชนิด  เช่น  กำลังความถึก ชะเมา ชะเลือด เดือยบิด ตาก ตีเมีย      เบื่อย่าง เถาคัน เป็นต้น2.พืชผักที่มีสรรพคุณสมุนไพร  และใช้ประโยชน์ในบ้านหรือทางสถาปัตยกรรม 13 ชนิด เช่น     ก้างปลาแดงขลู่จิกง่วงนอน จิกนา ชะมวงควาย นนทรี ผักหนาม เป็นต้น3.พืชผักพื้นบ้านที่ใช้ประโยชน์ในบ้านหรือทางสถาปัตยกรรม 12 ชนิด  เช่น กะสัง  ชีเงาะ ตุมพระ น้ำนองผักกูดทะเล หงอนไก่ เป็นต้น    นอกจากนี้  พืชผักพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 103 ชนิด ที่ชาวบ้านใช้บริโภคเป็นประจำในครัวเรือน  พบว่า  มีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารได้ 3 กลุ่ม  คือใช้ปรุงอาหาร  ใช้รับประทานสด ลวก ดอง (ผักเหนาะ)  และใช้ได้ทั้งปรุงอาหารและรับประทานสดก็ได้     พืชผักพื้นบ้านต่าง ๆ นั้น  เมื่อบริโภคแล้วจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายช่วยควบคุมภาวะธาตุในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยข้อมูลดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตแห่งการพึ่งตนเองตามแนวทางการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค








ประเพณีสารทเดือน 10 



แบ่งลักษณะงานเทศกาลนี้ออกเป็น 3 วันคือ


       วันแรม 13 ค่ำ เดือน 10  เป็นวันแรกหรือวันเริ่มเตรียมจัดหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้ รวมทั้งอาหาร จัดใส่ภาชนะ เช่น กระจาด ตะกร้า ชะลอม   และอาหารแห้งอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ หรือเป็นหัวใจของสำรับ เพราะเป็นขนมประเพณี ที่ทำสืบมา

แต่โบราณ 5 ชนิดคือ

  1.ขนมลา แป้งทอดโรยเป็นเส้นเล็กๆ

  2.ขนมพอง เป็นข้าวเหนียวทอดเม็ดพอง ส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 

  3.ขนมบ้า หรือขนมมด เป็นขนมแผ่นรูปกลมแบนทอด คล้ายลูกสะบ้าไม่มีรู 

  4.ขนมดีซำ หรือเรียกขนมเบซำ เป็นขนมปั้นรูปกลมแบน ทำเป็นรูตรงกลาง 

  5.ขนมกงหรือขนมไข่ปลา



        วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เรียก “วันยกหมรับ” และถือเป็นวัน “ตั้งเปรต” ด้วย คือ ยกภาชนะสำรับต่างๆ ที่บรรจุสิ่งของทำบุญทุกอย่างไว้แล้วนำไปทำบุญถวายพระ  ที่วัด   จากนั้นนำสิ่งของที่ทำบุญออกไปทำพิธี “ตั้งเปรต”    การตั้งเปรตคือ การเอาอาหารทุกชนิด รวมทั้งดอกไม้ธูปเทียนเศษสตางค์ใส่กระทงไปวางบนแผ่นกระดาน  ทำพิธี  กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลอุทิศไปถึงญาติที่ตาย อาหารที่นำมา ตั้งเปรต นี้ หลังจากทำพิธีอุทิศส่วนกุศลเสร็จ จะมีการแย่งชิงสิ่งของอาหารที่ ตั้งเปรต นี้ เรียกว่า ชิงเปรต                      วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก “วันฉลองหมรับ” หรือเป็น “วันสารท” มีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญตามประเพณีนี้

วัฒนธรรมด้านศิลปการแสดง 


หนังตะลุง 

เป็นการแสดงมหรพพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกจังหวัดภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวแผ่นหนังที่กำหนดทำขึ้นเป็นตัวละครในเรื่อง ตัวหนังที่เชิดนี้ทำด้วย  หนังวัวหรือหนังแพะ ตอกเป็น
ลายฉลุลวดลายงดงาม แล้วใช้ไม้ชักเชิดให้เคลื่อนไหวท่าทางไปกับ  บทพากย์ เรื่องที่นำมาแสดงเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ และเรื่องอื่นๆที่นายหนังแต่งขึ้น  เองผูกเป็นเรื่องราว     
                     
 เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีดังนี้                  
 1.กลองตุ๊ก  2.ฆ้องคู่  3.โหม่ง  4.ซอด้วงหรือปี่  5.ทับ (โทน)  6.ฉิ่ง



                 โนห์รา                      
  การแต่งกายของมโนราห์ใต้  ผู้แสดงนุ่งสนับเพลาพร้อมเครื่องทรงครบชุด สวมเทริด  สวมเล็บมือยาว  เครื่องคนตรีที่ใช้ในการแสดงมี    ดังนี้   
  1.โหม่ง     2.ฆ้องคู่   3.กลอง(โพน)   4.ปี่   5.ทับ(โทน)คู่     6.ฉิ่ง     7.แกระ  
การขับร้องใช้ประสานเสียงกัน และรับส่งเวลามีบทขับ โดยลูกคู่หน้าโรง   
การร้องบทใช้ด้นเป็นคำกลอนสด






รองเง็ง    รองเง็ง เป็นการแสดงประเภทศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรี ของคนพื้นเมืองในแถบ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนเมืองต่างๆ ของ  มาเลเซียตอนเหนือ เช่น กะลันตัน ไทรบุรี ปาหัง ตรังกานู ล้วนเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย              เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรำ รองเง็ง  มี ๑. กลองรำมะนา ๒. ฆ้อง ๓. ไวโอลิน    

ลักษณะการเต้นรำ เมื่อดนตรีขึ้นเพลง ผู้ชายจะไปโค้งฝ่ายหญิงแล้วพากันไปเต้นรำเป็นคู่ๆ ตามจังหวะเพลง มีทั้งช้าและเร็วหรือสลับกัน กระบวนท่ามีทั้งท่ายืน ท่านั่ง ปรบมือ  เล่นเท้า หมุนตัว   การเต้นรำจะไม่ถูกเนื้อตัวกัน





เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้


          1. ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะ        
            2. กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนังตะลุงโดยทั่วไปมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า
  3. โหม่ง เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญในการขับบท ทั้งในด้านการให้เสียง   
      4. ปี่ เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญในการเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม


          5. แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง     
     
6. กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป        

 7. โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้าน ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน นิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า "จันโพน"                      

8. กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักษณะคล้ายปืด แต่เล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านของหนัง
9. ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง และปี่          


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

        อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดิน เรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒน ธรรมของชาวต่างชาติโดย เฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับใน การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก        อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียอาหาร ของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเล อุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

การกิน ลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้ คือ มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทาน อาหารทุกมื้อ ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า "ผักเหนาะ" ความนิยมใน การรับประทานผักแกล้มอาหารของชาวใต้ เป็นผลมาจากการที่ ภาคใต้มีพืชผักชนิดต่างๆ มาก และหาได้ง่าย คนใต้นิยมรับประ ทานอาหารเผ็ด จึงต้องมีผักแกล้ม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด และเพื่อชูรสอาหาร อาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหาร นิยมรับประทาน "ขนมจีน" รองจากข้าว ใส่เคยหรือกะปิเป็น เครื่องปรุงรสอาหาร ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานน้ำบูดู ซึ่ง เป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิม          อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรส ชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำ ส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น          เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ด ร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลาย อย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลาย อย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน