วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมด้านศิลปการแสดง 


หนังตะลุง 

เป็นการแสดงมหรพพื้นบ้านที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกจังหวัดภาคใต้ แสดงโดยการเชิดตัวแผ่นหนังที่กำหนดทำขึ้นเป็นตัวละครในเรื่อง ตัวหนังที่เชิดนี้ทำด้วย  หนังวัวหรือหนังแพะ ตอกเป็น
ลายฉลุลวดลายงดงาม แล้วใช้ไม้ชักเชิดให้เคลื่อนไหวท่าทางไปกับ  บทพากย์ เรื่องที่นำมาแสดงเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ และเรื่องอื่นๆที่นายหนังแต่งขึ้น  เองผูกเป็นเรื่องราว     
                     
 เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีดังนี้                  
 1.กลองตุ๊ก  2.ฆ้องคู่  3.โหม่ง  4.ซอด้วงหรือปี่  5.ทับ (โทน)  6.ฉิ่ง



                 โนห์รา                      
  การแต่งกายของมโนราห์ใต้  ผู้แสดงนุ่งสนับเพลาพร้อมเครื่องทรงครบชุด สวมเทริด  สวมเล็บมือยาว  เครื่องคนตรีที่ใช้ในการแสดงมี    ดังนี้   
  1.โหม่ง     2.ฆ้องคู่   3.กลอง(โพน)   4.ปี่   5.ทับ(โทน)คู่     6.ฉิ่ง     7.แกระ  
การขับร้องใช้ประสานเสียงกัน และรับส่งเวลามีบทขับ โดยลูกคู่หน้าโรง   
การร้องบทใช้ด้นเป็นคำกลอนสด






รองเง็ง    รองเง็ง เป็นการแสดงประเภทศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรี ของคนพื้นเมืองในแถบ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนเมืองต่างๆ ของ  มาเลเซียตอนเหนือ เช่น กะลันตัน ไทรบุรี ปาหัง ตรังกานู ล้วนเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย              เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรำ รองเง็ง  มี ๑. กลองรำมะนา ๒. ฆ้อง ๓. ไวโอลิน    

ลักษณะการเต้นรำ เมื่อดนตรีขึ้นเพลง ผู้ชายจะไปโค้งฝ่ายหญิงแล้วพากันไปเต้นรำเป็นคู่ๆ ตามจังหวะเพลง มีทั้งช้าและเร็วหรือสลับกัน กระบวนท่ามีทั้งท่ายืน ท่านั่ง ปรบมือ  เล่นเท้า หมุนตัว   การเต้นรำจะไม่ถูกเนื้อตัวกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น