ประเพณีสารทเดือน 10
แบ่งลักษณะงานเทศกาลนี้ออกเป็น 3 วันคือ
วันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันแรกหรือวันเริ่มเตรียมจัดหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้ที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้ รวมทั้งอาหาร จัดใส่ภาชนะ เช่น กระจาด ตะกร้า ชะลอม และอาหารแห้งอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ หรือเป็นหัวใจของสำรับ เพราะเป็นขนมประเพณี ที่ทำสืบมา
แต่โบราณ 5 ชนิดคือ
1.ขนมลา แป้งทอดโรยเป็นเส้นเล็กๆ
2.ขนมพอง เป็นข้าวเหนียวทอดเม็ดพอง ส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
3.ขนมบ้า หรือขนมมด เป็นขนมแผ่นรูปกลมแบนทอด คล้ายลูกสะบ้าไม่มีรู
4.ขนมดีซำ หรือเรียกขนมเบซำ เป็นขนมปั้นรูปกลมแบน ทำเป็นรูตรงกลาง
5.ขนมกงหรือขนมไข่ปลา
วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เรียก “วันยกหมรับ” และถือเป็นวัน “ตั้งเปรต” ด้วย คือ ยกภาชนะสำรับต่างๆ ที่บรรจุสิ่งของทำบุญทุกอย่างไว้แล้วนำไปทำบุญถวายพระ ที่วัด จากนั้นนำสิ่งของที่ทำบุญออกไปทำพิธี “ตั้งเปรต” การตั้งเปรตคือ การเอาอาหารทุกชนิด รวมทั้งดอกไม้ธูปเทียนเศษสตางค์ใส่กระทงไปวางบนแผ่นกระดาน ทำพิธี กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลอุทิศไปถึงญาติที่ตาย อาหารที่นำมา ตั้งเปรต นี้ หลังจากทำพิธีอุทิศส่วนกุศลเสร็จ จะมีการแย่งชิงสิ่งของอาหารที่ ตั้งเปรต นี้ เรียกว่า ชิงเปรต วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก “วันฉลองหมรับ” หรือเป็น “วันสารท” มีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญตามประเพณีนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น